วิธีการหาส่วนเต็มในการแบ่งมรดก (อุศูล–มัสอะละฮฺ)

การหาส่วนเต็มในการแบ่งมรดกนั้น หาได้โดยวิธีหา ค.ร.น. คือเอาส่วนของแต่ละอัตราส่วนมาหา ค.ร.น. ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ถ้ามีอัตราส่วน 1/2 จะได้ส่วนเต็ม = 2

ถ้ามีอัตราส่วน 1/3, 2/3 จะได้ส่วนเต็ม = 3

ถ้ามีอัตราส่วน 1/4, 1/2 จะได้ส่วนเต็ม = 4

ถ้ามีอัตราส่วน 1/2, 1/3, 2/3, 1/6 จะได้ส่วนเต็ม = 6

ถ้ามีอัตราส่วน 1/2, 1/4, 1/8 จะได้ส่วนเต็ม = 8

ถ้ามีอัตราส่วน 1/6, 1/3, 2/3, 1/4, 1/2 จะได้ส่วนเต็ม = 12

ถ้ามีอัตราส่วน 1/8, 1/6, 1/4, 1/3, 2/3, 1/2 จะได้ส่วนเต็ม = 24

ข้อสังเกต

ก. ส่วนเต็ม ในการแบ่งมรดกนั้น นักวิชาการมีทรรศนะเห็นพ้องกันว่ามี 7 จำนวนคือ : 2,3,4,6,8,12 และ 24

ข. ในปัญหามรดกข้อใดมีอัตราส่วนในตัวอย่างข้างต้นจะได้ส่วนเต็มตามที่ระบุไว้ อาทิเช่น

– ปัญหามรดกใดที่มีอัตราส่วน 1/2 หรือ 1/3 หรือ 2/3 ร่วมกับ 1/6 ส่วนเต็มของปัญหามรดกข้อนั้นก็จะเป็น 6 เป็นต้น

วิธีแบ่งมรดก มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1) ให้แยกผู้ที่มีสิทธิในการสืบมรดกออกจากผู้ถูกกันสิทธิ

2) หาอัตราส่วนที่ผู้มีสิทธิสืบมรดกแต่ละคนได้รับ

3) นำอัตราส่วนต่างๆไปหาส่วนเต็ม

4) ถอดส่วนแบ่ง (ส่วนที่ได้รับ) ของแต่ละคน

5) หาจำนวนเงินที่แต่ละบุคคลได้รับ

ตัวอย่างที่ 1

นางฮัฟเซาะฮฺได้เสียชีวิตโดยทิ้ง สามี,บิดา,และบุตรชาย 1 คนพร้อมกับเงินจำนวน 12,000 บาท ปัญหามรดกข้อนี้แบ่งอย่างไร

วิธีแบ่งมรดก

ส่วนเต็ม = 12

ผู้มีสิทธิสืบมรดก

อัตราส่วน

ส่วนที่ได้รับ

จำนวนเงิน

สามี

1/4

3

3,000

บิดา

1/6

2

2,000

บุตรชาย

ส่วนที่เหลือ

7

7,000

จำนวนเงินทั้งหมด 12,000 บาท

ส่วนเต็ม 12 ส่วน

แต่ละส่วน = 12,000 ÷ 12 = 1,000 บาท

ฉะนั้น สามีได้รับ 3 ส่วน เป็นเงิน 3,000 บาท

บิดาได้รับ 2 ส่วน เป็นเงิน 2,000 บาท

บุตรชายได้รับ 7 ส่วน เป็นเงิน 7,000 บาท

ตัวอย่างที่ 2

นายอับดุลลอฮฺได้เสียชีวิตโดยทิ้ง บิดา,มารดา,ภรรยา,บุตรชาย 2 คน,บุตรสาว 1 คน กับเงินจำนวน 24,000 บาท ปัญหามรดกข้อนี้แบ่งอย่างไร?

วิธีแบ่งมรดก

ส่วนเต็ม = 24

ผู้มีสิทธิสืบมรดก อัตราส่วน ส่วนที่ได้รับ จำนวนเงิน
บิดา
1/6
4
4,000
มารดา 1/6
4
4,000
ภรรยา 1/8
3
3,000
บุตรชาย 2 คน
ส่วนเหลือ
13 ÷ 5 13,000 ÷ 5
บุตรสาว 1 คน
ส่วนเหลือ
13 ÷ 5 13,000 ÷ 5
จำนวนเงินทั้งหมด 24,000 บาท

ส่วนเต็ม 24 ส่วน

แต่ละส่วน = 24,000 ÷ 24 = 1,000 บาท

ฉะนั้น บิดาได้รับ 4 ส่วน เป็นเงิน 4,000 บาท

มารดาได้รับ 4 ส่วน เป็นเงิน 4,000 บาท

ภรรยาได้รับ 3 ส่วน เป็นเงิน 3,000 บาท

บุตรชาย 2 คน + บุตรสาว 1 คน ได้รับ 13 ส่วน เป็นเงิน 13,000 บาท

บุตรชายแต่ละคนได้รับ 1,3000 ÷ 5 x 2 = 5,200 บาท

บุตรสาวได้รับ 1,3000 ÷ 5 x 1 = 2,600 บาท

ตัวอย่างที่ 3

นายอิลยาสได้เสียชีวิตโดยทิ้งบุตรสาว 1 คน,หลานสาวอันเกิดจากบุตรชาย 1 คน และพี่ชายร่วมบิดากับผู้ตาย 1 คน พร้อมกับเงินจำนวน 6,000 บาท ปัญหามรดกข้อนี้แบ่งอย่างไร?

วิธีแบ่งมรดก

ส่วนเต็ม = 6

ผู้มีสิทธิสืบมรดก

อัตราส่วน

ส่วนที่ได้รับ

จำนวนเงิน

บุตรสาว 1 คน

1/2

3

3,000

หลานสาว 1 คน

1/6

1

1,000

พี่ชายร่วมบิดา 1 คน

ส่วนที่เหลือ

2

2,000

จำนวนเงิน 6,000 บาท

ส่วนเต็ม 6 ส่วน

แต่ละส่วน = 6,000 ÷ 6 = 1,000 บาท

ฉะนั้น บุตรสาวได้รับ 1,000 × 3 = 3,000 บาท

หลานสาวได้รับ 1,000 × 1 = 1,000 บาท

พี่ชายร่วมบิดากับผู้ตายได้รับ 1,000 × 2 = 2,000 บาท

ปัญหาเศษมากกว่าส่วนหรือปัญหาส่วนรวมมากกว่าส่วนเต็ม

ในกรณีส่วนรวมมากกว่าส่วนเต็ม ให้ถือส่วนเต็มเป็นเกณฑ์ในการแบ่งมรดก โดยการเพิ่มส่วนเต็มให้เป็นดังต่อไปนี้

ส่วนเต็ม 6 ให้ปัดเป็น 7, 8, 9, 10

ส่วนเต็ม 12 ให้ปัดเป็น 13, 15, 17

ส่วนเต็ม 24 ให้ปัดเป็น 27

ตัวอย่าง

นางฟาติมะฮฺได้เสียชีวิตโดยทิ้ง บุตรสาว 2 คน,สามี,บิดาและมารดาเอาไว้ พร้อมกับเงินจำนวน 51,000 บาท ปัญหามรดกข้อนี้แบ่งอย่างไร?

วิธีแบ่งมรดก

ส่วนเต็ม = 12 ปัดเป็น 15

ผู้มีสิทธิสืบมรดก

อัตราส่วน

ส่วนที่ได้รับ

จำนวนเงิน

บุตรสาว 2 คน

2/3

8 ÷ 2

27,200 ÷ 2

สามี

1/4

3

10,200

บิดา

1/6

2

6,800

มารดา

1/6

2

6,800

จำนวนเงิน 51,000 บาท

ส่วนเต็ม 12 เพิ่มเป็น 15 ส่วน

แต่ละส่วน = 51,000 ÷ 15 = 3,400 บาท

ฉะนั้น บุตรสาว 2 คน ได้รับ 8 ส่วน เป็นเงิน 27,200 บาท

ได้คนละ 13,600 บาท

สามีได้รับ 3 ส่วน เป็นเงิน 10,200 บาท

บิดาได้รับ 2 ส่วน เป็นเงิน 6,800 บาท

มารดาได้รับ 2 ส่วน เป็นเงิน 6,800 บาท

ปัญหาการคืนส่วนที่เหลือ

สำหรับส่วนที่เหลือจากการแบ่งมรดกให้คืนกลับไปยังผู้มีสิทธิสืบมรดก โดยแบ่งตามส่วนที่ได้รับเว้นแต่สามีหรือภรรยา

ปัญหาการแบ่งมรดกให้กับทารกที่อยู่ในครรภ์ขณะที่บิดาตาย

ในการแบ่งมรดกนั้น เมื่อเราไม่ทราบว่าทารกที่อยู่ในครรภ์นั้นเป็นผู้ชายหรือผู้หญิงก็ให้กำหนดส่วนที่เหลือสำหรับทารกไว้ 2 ส่วน ถ้าหากว่าทารกที่เกิดมาเป็นชายก็มอบส่วนที่เก็บไว้ให้ทั้งหมด แต่ถ้าหากว่าเป็นหญิง ก็มอบให้ส่วนเดียว สำหรับส่วนที่เหลือก็มอบคืนให้แก่ผู้มีสิทธิสืบมรดกคนอื่น ๆ

ตัวอย่าง

ถ้าหากว่าผู้มีสิทธิสืบมรดกมี มารดา, ภรรยาที่ตั้งครรภ์ และพี่ชายร่วมบิดามารดากับผู้ตาย ตามปัญหามรดกข้อนี้

มารดาจะได้รับ 1/6

ภรรยาจะได้รับ 1/8

พี่ชายร่วมบิดามารดากับผู้ตายจะได้รับส่วนที่เหลือ (อะเศาะบะฮฺ) หรือจะถูกกันสิทธิ

ฉะนั้น ส่วนที่เหลือยังไม่แบ่งให้กับพี่ชายร่วมบิดามารดากับผู้ตาย จนกว่าทารกในครรภ์จะคลอดออกมาเป็นผู้ชาย ก็จะได้สืบมรดกส่วนที่เหลือทั้งหมด และพี่ชายร่วมบิดามารดากับผู้ตายก็ถูกกันสิทธิ แต่ถ้าหากว่าทารกคลอดออกมาเป็นผู้หญิงคนเดียว ทารกก็จะได้รับ 1/2 จากกองมรดก ส่วนที่เหลือเป็นของพี่ชายร่วมบิดามารดากับผู้ตาย