การทำพินัยกรรม (อัล–วะศิยะฮฺ)

พินัยกรรม (อัล-วะศิยะฮฺ) ตามหลักศาสนา : หมายถึง การสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งจะมีผลบังคับภายหลังจากผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตลงแล้ว เรียกการสละกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนี้ในภาษาอาหรับว่า อัล-วะศิยะฮฺ (اَلْوَصِيَّةُ) เพราะความดีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้ทำไว้ในโลกนี้จะส่งผลไปถึงเขาในโลกหน้า

ข้อแตกต่างระหว่างการทำพินัยกรรมกับการยกให้ประเภทอื่น ๆ ก็คือการทำพินัยกรรม (อัล-วะศิยะฮฺ) จะมีผลบังคับภายหลังจากผู้ทำพินัยกรรมเสียชีวิตแล้ว ขณะที่การยกให้ประเภทต่าง ๆ จะมีผลบังคับขณะที่กระทำยังมีชีวิตอยู่

การทำพินัยกรรมเป็นสิ่งที่อนุมัติในศาสนาอิสลาม โดยมีหลักฐานจากอัลกุรฺอาน ดังนี้

วิธีการหาส่วนเต็มในการแบ่งมรดก (อุศูล–มัสอะละฮฺ)

การหาส่วนเต็มในการแบ่งมรดกนั้น หาได้โดยวิธีหา ค.ร.น. คือเอาส่วนของแต่ละอัตราส่วนมาหา ค.ร.น. ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ถ้ามีอัตราส่วน 1/2 จะได้ส่วนเต็ม = 2

ถ้ามีอัตราส่วน 1/3, 2/3 จะได้ส่วนเต็ม = 3

ถ้ามีอัตราส่วน 1/4, 1/2 จะได้ส่วนเต็ม = 4

ถ้ามีอัตราส่วน 1/2, 1/3, 2/3, 1/6 จะได้ส่วนเต็ม = 6

ถ้ามีอัตราส่วน 1/2, 1/4, 1/8 จะได้ส่วนเต็ม = 8

ถ้ามีอัตราส่วน 1/6, 1/3, 2/3, 1/4, 1/2 จะได้ส่วนเต็ม = 12

ถ้ามีอัตราส่วน 1/8, 1/6, 1/4, 1/3, 2/3, 1/2 จะได้ส่วนเต็ม = 24

ข้อสังเกต

อัตราหรือสัดส่วนของผู้มีสิทธิสืบมรดก

1. บิดา

บิดามี 3 สภาพ ดังต่อไปนี้

ได้รับ 1/6 จากกองมรดกในกรณีที่ผู้ตายมีบุตรชายหรือบุตรของบุตรชาย (หลานชาย) หรือบุตรของบุตรของบุตรชาย (เหลนชาย ฯลฯ) ร่วมอยู่ด้วย

ได้รับ 1/6 และส่วนเหลือ (อะเศาะบะฮฺ) ในกรณีที่ผู้ตายมีแต่บุตรสาวของบุตรชาย (เหลนสาว) หรือบุตรสาวของบุตรชายของบุตรชาย (เหลนสาว) ร่วมอยู่ด้วย

ได้รับส่วนเหลือ (อะเศาะบะฮฺ) ในกรณีที่ผู้ตายไม่มีบุตรไม่ว่าชายหรือหญิงหรือหลานชายหรือหลานสาวอันเกิดจากบุตรชายของผู้ตาย

มารดา

มารดามี 3 สภาพดังต่อไปนี้

ผู้มีสิทธิสืบมรดก اَلْوَارِثُ (อัล–วาริซฺ)

ทายาทผู้ตายที่เป็นชายซึ่งมีสิทธิในการสืบมรดก มีดังนี้

บุตรชายของผู้ตาย

หลานชาย เหลนชาย ฯลฯ

บิดาของผู้ตาย

ปู่ของผู้ตาย (บิดาของบิดา ฯลฯ)

พี่ชายหรือน้องชาย (ทั้งที่ร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดา หรือร่วมมารดากับผู้ตาย

บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชาย (ร่วมบิดามารดา)

บุตรชายของพี่ชายหรือน้องชาย (ร่วมบิดากับผู้ตาย)

อาหรือลุง (พี่ชายหรือน้องชายของบิดาที่ร่วมบิดามารดากับบิดาของผู้ตาย)

อาหรือลุง (พี่ชายหรือน้องชายของบิดาที่ร่วมบิดากับบิดาของผู้ตาย)

ผู้ที่ไม่มีสิทธิในกองมรดก

ผู้ที่ไม่มีสิทธิสืบมรดกโดยเด็ดขาด มีดังนี้ คือ

เงื่อนไขของการแบ่งมรดก

การแบ่งมรดกนั้นจะมีเงื่อนไข ดังนี้

1. เจ้าของมรดกได้เสียชีวิตอย่างแน่นอน หรือด้วยคำสั่งของศาล (ว่าเสียชีวิตหรือสาบสูญ)
2. ผู้สืบมรดก (ทายาท) ยังมีชีวิตอยู่อย่างแน่นอน หรือด้วยคำสั่งของศาล
3. จะต้องทราบว่าผู้นั้นเกี่ยวข้องในการสืบมรดกอย่างไร เช่น เป็นสามี เป็นภรรยา ฯล
4. จะต้องไม่ถูกกันสิทธิในการสืบมรดกตามหลักศาสนบัญญัติ

บรรดาสิทธิที่เกี่ยวพันกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย

มีสิทธิ 5 ประการที่เกี่ยวพันกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย โดยมีความสำคัญก่อนหลังตามลำดับ ดังนี้ คือ

สิ่งที่ถือว่าเป็นมรดก

สิ่งที่ถือว่าเป็นมรดก ได้แก่
1. สังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ตาย เช่น ที่ดิน ตึก อาคาร บ้าน สวน ไร่นา รถยนต์ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น
2. เงินสดในมือ และในธนาคาร
3. ทรัพย์สินที่ผู้ตายมีสิทธิโดยชอบธรรม แต่ยังมิได้มีการส่งมอบ เช่น หนี้สินของผู้ตายที่ติดค้างอยู่ที่ผู้อื่น (ลูกหนี้) เงินค่าทำขวัญ เงินค่าทดแทน เงินค่าตอบแทน เป็นต้น

องค์ประกอบของการแบ่งมรดก

องค์ประกอบของการแบ่งมรดกมี 3 ประการ คือ
1. เจ้าของมรดกหรือผู้ตาย (อัล-มุวัชริซฺ)
2. ผู้สืบ (รับ) มรดก (อัล-วาริซฺ)
3. ทรัพย์สินหรือสิทธิของเจ้าของมรดกหรือผู้ตาย เรียกในภาษาอาหรับว่า อัลเมารูซฺ,อัล-มีรอซฺ และอัล-อิรซฺ (المَوْرُوْثُ ، اَلمِيْرَاثُ ، اَلإِرْثُ) เมื่อขาดองค์ประกอบข้อหนึ่งข้อใดจาก 3 ประการนี้ ก็ไม่มีการสืบมรดก (อัลฟิกฮุลอิสลามีย์ 8/248,249)

ความหมายและความสำคัญของมรดกในอิสลาม

มรดก คือ ทรัพย์สินหรือสิทธิที่ผู้ตายได้ทิ้งไว้ ซึ่งทายาทโดยชอบธรรมมีสิทธิได้รับด้วยการสิ้นชีวิตของผู้ตาย (อัลฟิกฮุล-อิสลามีย์ 8/243) การแบ่งมรดก เป็นระเบียบตามหลักการของศาสนาอิสลามที่ได้รับการยืนยันด้วยตัวบทอัลกุรฺอาน อัลหะดีษ และอิจญ์มาอฺ ซึ่งมีความสำคัญเช่นเดียวกับหลักการที่ว่าด้วยการละหมาด การจ่ายซะกาฮฺ การทำธุรกรรมต่างๆและบทลงโทษตามลักษณะอาญา โดยจำเป็นในการบังคับใช้และนำมาปฏิบัติ ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนแปลงหรือฝ่าฝืน ไม่ว่ากาลเวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไปนานเพียงใดก็ตาม (อัลฟิกฮุ้ลมันฮะญีย์ 5/71,72) และผู้ใดปฏิเสธบัญญัติของศาสนาในเรื่องการแบ่งมรดก ผู้นั้นเป็นผู้ปฏิเสธ (กาฟิร) ออกนอกจากศาสนาอิสลา

หน้า

สมัครสมาชิก อัลฟะรอเอ็ฎ : الفرائض  RSS