บรรดาสิทธิที่เกี่ยวพันกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย

มีสิทธิ 5 ประการที่เกี่ยวพันกับทรัพย์มรดกของผู้ตาย โดยมีความสำคัญก่อนหลังตามลำดับ ดังนี้ คือ

1. บรรดาหนี้สินที่เกี่ยวพันกับตัวของทรัพย์มรดกก่อนหน้าการเสียชีวิตของผู้ตาย อาทิ เช่น การจำนอง,การซื้อขาย และทรัพย์สินซึ่งจำเป็นต้องออกซะกาฮฺ
2. การจัดการศพ อันหมายถึงค่าใช้จ่ายทั้งหมดนับแต่การเสียชีวิตของผู้ตายจวบจนเสร็จสิ้นการฝังศพโดยไม่มีความสุรุ่ยสุร่ายหรือความตระหนี่ในการใช้จ่าย
3. บรรดาหนี้สินที่มีภาระผูกพันกับผู้ตาย ไม่ว่าบรรดาหนี้สินนั้นจะเป็นสิทธิของพระองค์อัลลอฮฺ ()อาทิ เช่น ซะกาฮฺ,สิ่งที่ถูกบน (นะซัร) เอาไว้ และบรรดาค่าปรับ (กัฟฟาเราะฮฺ) หรือจะเป็นสิทธิของบ่าว อาทิ เช่น การยืมหนี้สิน เป็นต้น
4. พินัยกรรม (วะศียะฮฺ) ที่ผู้ตายทำไว้จากจำนวน 1 ใน 3 ของทรัพย์สินที่ผู้ตายละทิ้งไว้ หลังจากค่าใช้จ่ายในการจัดการศพและการชดใช้หนี้สินของผู้ตาย
5. ทรัพย์อันเป็นมรดก ซึ่งถือเป็นสิทธิที่เกี่ยวพันกับทรัพย์สินของผู้ตายในลำดับท้ายสุด โดยให้นำมาแบ่งระหว่างทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกตามสัดส่วนที่ศาสนากำหนด (อัลฟิกฮุล-มันฮะญี่ย์ 5/73,74)